RSS

Author Archives: chareef

โครงการหารายได้สมทบทุนศูนย์การศึกษาอิสลาม บ้านปันจอร์

ต้นฉบับเดิม : ภาษาไทย

เจ้าของ : คณะกรรมการมัสยิดอะห์มาดียะห์ บ้านปันจอร์ สตูล

วันที่ 2/5/2013

……………..

Kertas kerja projek mohon bantuan sumbangan pembinaan bangunan pusat pendidikan dan pengajian islam
Nama Projek :
Pembinaan bangunan sekolah bagi Pusat pendidikan dan pengajian islam Masjid Ahmadiah Kg.Panjor ( Tadika )
Pemilik projek :
Masjid Ahmadiah Kampung Panjor Daerah Khuandon Wilayah Satun
Pengerusi projek :
Tuan Haji Muhammadnur Tohdaeng : Imam Masjid Ahmadiah
Pendahuluan :
Kampung Panjor bermukim Ban Yansu Daerah Khuandon Wilayah Satun adalah sebuah kampung besar mempunyai penduduk sebanyak 700 buah rumah tangga ( sekitar 2000 orang ) majority 99 % beragama islam,pentadbiran dan pengurusan hal ehwal kampung berpusat dimasjid dengan ini masjid berperanan penting didalam semua urusan pembangunan kampung khususnya dibidang pendidikan masjid telah mengadakan pusat pendidikan dan pengajian islam di setiap peringkat samada kanak-kanak,belia dan juga untuk kalangan dewasa.
Pengurusan pendidikan di kampung Panjor, untuk kalangan belia pihak masjid telah menyediakan pendidikan dan pengajian islam peringkat asas mengikut sukatan kementerian pendidikan dan pembelajaran pada setiap hari sabtu manakala pembelajaran untuk khalayak dewasa diwujudkan kelas pengajiannya pada setiap hari jumaat dan ketika selesai solat maghrib – waktu solat isya’ pada setiap hari.Sekarang pada hari sabtu bilangan pelajar belia sudah memcapai jumlah 400 orang dan bilangan ini terus meningkat dari semasa ke semasa menyebabkan bilangan bilik pembalajaran tidak mencukupi dan terpaksa belajar didalam bilik yang ramai lagi menyempitkan.Dengan ini pihak Masjid Ahmadiah Kg.Panjor telah merancang projek pembinaan bangunan baru setinggi 3 tingkat sebanyak 16 bilik pengajian diatas sebidang tanah milik masjid yang memerlu kos perbelanjaannya sebanyak THB 12,000,000. ( Dua belas juta Bath ) sekarang sebahagian pembinaan projek ini telah dijalankan dengan bantuan sumbangan dari penduduk kampung sebanyak THB 6,000,000. ( Enam juta Bath ) dan berhenti pembinaan sementara kerana kehabisan bajet pembinaan.
Sehubungan dengan perkara diatas Masjid Ahmadiah Kg.Panjor yang berdaftar pendaftaran masjid No. …………… memohon bantuan sumbangan pembinaan bangunan Pusat pendidikan dan pengajian islam Masjid Ahmadiah Kg.Panjor diatas sebidang tanah milik masjid mengikut gran tanah No……………….. dan bangunan tersebut akan diwaqaf untuk kegunaan pendidikan dan pengajian islam dimasa akan datang.
Objektif :
1.Penggunaannya sebagai pusat pendidikan moral dan pengajian islam belia muslim.
2.Sebagai pusat penyebaran dan khidmat infomasi akademi dan teknologi.
3.Sebagai pusat pentadbiran kampung,kebajikan anak yatim dan fakir miskin.
Aktiviti :
– Pembinaan Bangunan Konkrit 3 tingkat sebanyak 15 bilik berserta lanskaping persekitaran dan alat-alat kemudahan lain-lain ( Secara detail tertulis dalam plan yang disertakan )
Lokasi Projek :
Kampung Panjor Tumpuk 6 Mukim Yansu Daerah Khuandon Wilayah Satun Selatan Thailand
Kos perbelanjaan :
Kos perbelanjaan kesuluruhan sebanyak THB 12,000,000. ( Dua belas juta Bath ) namun sebahagian pembinaan telah pun dijalankan yang telah menelan perbelanjaan sebanyak THB 6,000,000. ( Enam juta Bath ) dan masih lagi memerlukan kos baki untuk menyepurna projek tersebut dengan jumlah wang sebanyak THB 6,000,000. ( Enam juta Bath )
Note : ( Kadar tukaran wang USD 1 : THB 30 )
Penerima faedah :
1.Belia islam seramai 400 orang mendapat bangunan pendidikan dan pengajian islam.
2.Penduduk perkampungan islam seramai 1,500 orang mendapat pusat pendidikan dan pengajian islam serta mendapat pusat pentadbiran dan pengurusan hal ehwal komuniti mereka.
3.Penjagaan kebajikan anak yatim dan fakir miskin yang bersistem,berterusan dan saksama.
Urus setia / kodinater projek :
Encik Somad Baimadpunjor
39 Tumpuk 6 Mukim Yansu Daerah Khuandon Wilayah Satun 91160
Tel : +6689 4661373
Email : sormad@hotmail.com
Pengusul Projek :
Tuan Haji Muhammadnur Tohdaeng
Imam Masjid Ahmadiah Kg.Panjor
Lampiran yang disetakan :
– Plan pembinaan bangunan
– Surat pendaftaran masjid
– Gambar aktiviti pengajian pelajar gambar masjid dan gambar jarak jauh bangunan yang terbina
– Surat rekomen dari badan kerajaan

 
Leave a comment

Posted by on June 6, 2013 in งานแปล

 

ใบปลิวสินค้ารอญัม สาหรับงานเอกซ์โปมุสลิม กรุงเทพฯ

ต้นฉบับเดิม : ภาษามาเลย์

เจ้าของ : Rojam Industry Malaysia

วันที่ : 20 / 5 /2013

………

1.กาแฟโรญัม กาแฟมังคุดและคอลลาเจล 5 In 1

มังคุดนับเป็นผลไม้หนึ่งที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ และมีสรรพคุณโดยธรรมชาติอย่างสูงในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเปลือก จะมีสารอนุมูลอิสระสูงช่วยให้ผิวพรรณแลดูดี ป้องกันและระงับปัญหาการเกิดริ่วรอยย่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จะช่วยลดปัญหาต่างๆ เช่น ริดสีดวงทวาร ท้องผูก นิ่ว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน เป็นหวัดคัดจมูก หอบหืด หายใจไม่สะดวก ปวดข้อ โรคไขข้อ อัมพฤก ปวดเมื่อยยตามกล้ามเนื้อ แผลในลำไส้ และโรคไข้เหลือง เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆ

–           เพิ่มพลังและความแข็งแรงให้ร่างกาย

–           ลดไขมันและคอเลสตอรอลในร่างกาย

–           ลดปัญหาอาการง่วงเซา

–           ปัญหาโรคอ้วน

–           เสริมสร้างพลานามัยที่สมบูรณ์แก่ผิวพรรณและร่างกาย

–           แก้ปัญหาระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย

2.ยาสีฟัน มุสลีมินต์

สรรพคุณ : ทำให้ฟันขาวแข็งแรง ลมหายใจหอมสดชื่น มีส่วนผสมของใบสะระแหน่จากธรรมชาติ 100% ป้องกันฟันผุและดูแลรักษารากฟันอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากส่วนผสมที่สกัดจากสัตว์ ทำให้ฟันขาวสวยใสยิ่งกว่า สะอาดกว่า ใช้ส่วนประกอบจากธรรมชาติจึงอ่อนโยนต่อเหงือกและฟัน มีส่วนผสมของแคลเซี่ยมและสูตรสำเร็จสำหรับฟันขาวสะอาดแข็งแรง

3.ยาหม่องตะไคร้

สรรพคุณ : ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดไขข้อ แก้วิงเวียนศรีษะ

4.น้ำมันกามาต ( ปลิงทะเล หรือ ท้าวพันตา )

สรรพคุณ : ภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรักษาและบรรเทาอาการปวดเมื่อย สมานแผลชั้นยอด รักษาอาการคัน และบรรเทาอาการจุกเสียด ปวดท้องแน่นท้อง

5.ครีมวันทูสลิม สูตรสำเร็จที่สกัดจากขิงด้วยวิธีการที่ทันสมัย เพื่อรักษาเรือนร่างให้สวยสลิมอย่างงดงาม ขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องการลดหน้าท้อง เอว แขนขา และสะโพก ทำให้บางเพรียวและสวยงามยิ่งขึ้น

วิธีใช้ :

ทาครีมวันทูสลิมบริเวณที่มีปัญหาพร้อมถูนวดให้ทั่วเบาๆ เพื่อความสวยงามอย่างต่อเนื่อง ควรใช้ทุกวันทั่งเช้าและเย็น

6.ครีมกามาตผสมน้ำนมแพะ

( ครีมสกัดจากปลิงทะเล หรือ ท้าวพันตาผสมนมแพะ )

สรรพคุณ รักษาและบรรเทาอาการต่างๆ ดังนี้

–           จุกเสียด

–           เหน็บชาที่บริเวณมือและเท้า

–           แมลงสัตว์กัดต่อย

–           ปวดเอ็นปวดข้อ

–           เคล็ดคัดยอก

–           คันตามผิวหนัง

 
Leave a comment

Posted by on June 6, 2013 in งานแปล

 

หนังสือรับรองได้เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์

ต้นฉบับเดิม : ภาษาไทย

เจ้าของ : นางแลหา มาลีเด็น

วันที่ : 5 /5 /2013

 

Kepada : Puan Leha Maleeden

Perkara : Pendaftaran mununai fardhu haji Puan telah berada dalam kouta tahun 2013.

 

Dengan segala hormatnya merujuk kepada perkara diatas.

 

2.Sukacita dimaklumkan bahawa pendaftaran Puan telah  berada didalam kouta jamaah haji yang akan  berangkat menunai fardhu haji  pada tahun 2013 M. bersamaan 1434 H.

 

3.Sebarang pertanyaan sila hubungi  Mutawwif Haji  Syareef B.Khalid Langputeh di talian : +6689 6562661.

 

Sekian terima kasih.

Yang Benar

 

 
Leave a comment

Posted by on June 6, 2013 in งานแปล

 

โจทย์ชีวิต

ในประสบการณ์ชีวิต คำพูดนาบีนี้เป็นจริงยิ่งนัก..ขอเป็นโจทย์ชีวิตในการมูฮาซาบะห์ร่วมกันของเช้าวันใหม่นี้… อัลเลาะห์มุสตาอาน ยาร๊อบ ” จงทำเวลาให้ว่างเพื่อทำอีบาดะห์ต่อฉันแล้วฉันจะเติมเต็มในหัวอกท่านด้วยความร่ำรวย และฉันจะปกปิดความยากจนของท่าน หากไม่เช่นนั้นแล้ว ฉันจะเติมเต็มในมือของท่านด้วยกิจการงานต่างๆและไม่ปกปิดความยากจนของท่าน…! “ ฮาดิษกุดซี รายงานโดย อะห์มัด

ทะเลหลีเป๊ะ…ในยามที่เรียบง่ายแต่ก็ยังคงแฝงหมื่นล้านความไม่ธรรมดา..!

 

ถ้าใช่แล้วชอบปลอบยังงัยก็ไม่ฟัง…

เปิดเทอมนี้เขาไปโรงเรียนแล้ว เมื่อวานไปหาเสื้อผ้านักเรียนใส่ มีหลายชุดที่ซื้อมา พอกลับถึงบ้าน มีอยู่ชุดหนึ่งที่ลองใส่แล้วไม่ถอด เป็นชุดมาลายูที่ทางโรงเรียนให้
ใส่ในวันศุกร์ เลยทำให้เมื่อวานทั่งวัน จะเล่นจะกินจะนอนแม้กระทั้งตามเอาวัวไปเข้าคอกพี่แกก็ยังไม่ถอด เช่นนั้นแหละเด็กๆสิ่งไหนที่ใช่แล้วชอบปลอบยังงัยก็ไม่ฟัง

เมื่อพูดถึงลูกๆความจริงพวกเขาคืออามานะห์เป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ที่จะ ต้องดูแลพวกเขาให้พรั่งพร้อมในทุกองค์ประกอบต่างๆที่พวกเขาถูกสร้าง กล่าวคือร่างกายสติปัญญาและจิตวิญญาน.ร่างกายเราเติบโตพวกเขาด้วยอาหารการกินที่เป็นประโยชน์เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ปก ปิดเอาเราะห์และที่อยู่อาศัยตามความจำเป็น,สติปัญญาเราบ่มเพาะและปลูกฝั่ง ให้พวกเขาได้ด้วยการตระเตรียมสถานที่เรียนดีๆที่มีมูอัลลิมและมูรอบบีย์เน้นการสอนและ การอบรมควบคู่กันไปส่วนจิตวิญญานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราเสริมสร้างให้พวก เขาได้ด้วยกาฝึกทำอามัลอีบาดะห์ตั่งแต่ยังเล็ก

แบบอย่างในเรื่องนี้ท่านนาบีบอกว่า”จงสอนละหมาดแก่ลูกๆพวกท่านเมื่อพวกเขาอายุเจ็ดขวบและจงเฆี่ยนตีเมื่ออายุสิบขวบ(หากไม่ละหมาด)”นาบีพูดแค่เรื่องละหมาด
เป็นเพราะละหมาดคือเรื่องพื้นฐานในความเป็นจริงในการฝึกลูกๆให้คุ้นเคยกับการปฏิบัติบัญญัติศาสนาอื่นก็ควรที่จะฝึกพวกเขาตั่งแต่ยังเล็กเหมื่อนกับการฝึกละหมาด
นั้นแหละ..พึงสังวรลูกๆคืออามานะห์และทุกๆอามานะห์จะต้องถูกสอบสวน.

IMAG0060

Muhammad Mabroor with his Mom & Brother

 

Haj 2012 : 8.วันตัรวียะห์

ฮัจญ์วันแรกกับบรรยากาศทั่วไปในท้องทุ่งมีนา

Haj 2012 : 8.วันตัรวียะห์

เมื่อวานนับเป็นวันแห่งความเมตตา

จากพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ อีกวัน

หนึ่งที่ต้องแสดงความขอบคุณชูโกร

ด้วยการขีดเขียนเรียนเล่าให้พวกเรา

อ่าน.

คาราวานอุลฟะห์ด้วยจำนวนฮุจยาจ

42 คน ลงจากบ้านพักที่มักกะห์ในสภาพครองเอียะรอมฮัจญ์ มานั่งรอรถเพื่อออกเดินทางสู่ท้องทุ่งมีนา เพียงแค่สิบห้านาทีแห่งการรอรถ เราก็

ได้นั่งบนรถพร้อมออกเดินทางสู่ท้องทุ่งมีนาในสภาพครบกันหมดทุกคนโดยไม่ตกหล่นและปะปนกับฮุจยาจกลุ่มอื่นๆ เราใช้เวลาในการเดินทางจาก

ที่พักสู่มีนา ( 7 ก.ม ) ราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ในที่สุดเราก็มานั่งสงบนิ่งในเต็นท์ที่พักเรียบร้อยแล้ว.

เป็นการเดินทางที่สะดวก,มากันพร้อมหน้าพร้อมตาและภายในเวลาที่กระชับมากที่สุดอย่างนี้ เป็นโอกาสดีๆที่ไม่ค่อยได้เจอบ่อยครั้งนัก.

เป็นความสะดวกที่จะมองผ่านเลยโดยไม่มีการขอบคุณชูโกรใดๆไม่ได้ เพราะการเดินทางสู่ท้องทุ่งมีนาอันเดียวกันอย่างนี้ กลุ่มฮุจยาจอื่นบางกลุ่มแค่รอ

ขึ้นรถอย่างเดียวก็ใช้เวลามากกว่าสามชั่วโมง,บางกลุ่มใช้เวลานั่งอยู่บนรถมากกว่าหกชั่วโมง (รถที่นั่งมาเกิดพลัดหลงไปเส้นทางอื่น จะวกกลับมาเข้าสู่

เส้นทางเดิมไม่ได้ ด้วยเหตุคลื่นรถและผู้คนที่มาทำฮัจญ์ต่างก็หลั่งไหลเข้าสู่ถนนทุกเส้นสายที่มุ่งไปที่มีนา) บางกลุ่มต้องแยกกันมา ทำให้ฮุจยาจกับหัว

หน้ากลุ่มไปคนละคันรถ ต้องมาเดินตามหากันที่มีนาอีกครั้ง อัลฮัมดุลิลละห์ความวุ่นวายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพวกเรา หาไม่แล้วคงต้องทบทวนตัวเองอีกครั้งกับสิ่งที่ต่างๆที่พระองค์ทรงทดสอบ.

ในรถบัสที่โล่งสบายและถึงที่หมายตามกำหนดการณ์

การออกเดินทางทำฮัจญ์จากที่พักสู่มีนาในวันที่เจ็ดหรือแปดซุลฮิจยะห์นั้น เราเรียกทำฮัจญ์แบบตัรวียะห์ รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีพอจะสรุปได้ดังนี้

คำนิยามวันตัรวียะห์ : วันตัรวียะห์ คือ วันที่แปดของเดือนซุลฮิจญะห์ มีความหมายว่า “การตระเตรียม” ที่เรียกว่า “ตัรวียะห์” ในวันดังกล่าวนั้น ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตสมัยท่านรอซูล ซ.ล ผู้คนที่ทำฮัจญ์ได้ทำการตระเตรียมเสบียงน้ำจากมักกะห์ไปสู่มีนาเพื่อการใช้สอยอย่างพอเพียงตลอดระยะเวลาแห่งการทำฮัจญ์ ซึ่งในสมัยดังกล่าวยังไม่ได้มีการตระเตรียมน้ำเฉกเช่นในปัจจุบัน.

ความประเสริฐวันตัรวียะห์

1.เป็นหนึ่งในสิบวันอันประเสริฐ (หนึ่ง – สิบ ซุลฮิจยะห์ ) ซึ่งพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ ได้สาบานในคำภีรอัลกุรอาน ความว่า “ ขอสาบานด้วยเวลายามเช้าตรู่ และขอสาบานด้วยค่ำคืนของวันทั้งสิบ ” ซูเราะห์ อัลฟัจร์ : 1-2

2.อามาลอีบาดะห์ในช่วงสิบวันดังกล่าวมีความประเสริฐมากกว่าช่วงวันอื่นๆ ดังรายงานของท่านอิบนิอับบาส ร.ด ได้รายงานว่า ท่านรอซูล ซ.ล ไดกล่าวว่า ไม่มีอามาลซอและห์ในช่วงใดที่เป็นที่รักยิ่งของพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ มากไปกว่าช่วงสิบวันนี้ (หนึ่ง – สิบ ซุลฮิจยะห์ ) บรรดาซอฮาบะห์ต่างถามท่านรอซูล ว่า “มิใช่การทำสงครามในหนทางของพระองค์อัลเลาะห์ ดอกหรือ ?” ท่านรอซูลตอบว่า “ ไม่ใช่ นอกจากหากชายคนหนึ่งออกไปด้วยหัวใจและทรัพย์สินของเขา โดยที่เขาไม่ได้กลับมาอีกเลย (ตายชาฮีด)” รายงานโดย บุคอรีย์

3.เป็นวันที่บรรดาฮุจยาจเริ่มตระเตรียมเสบียงกายและจิตเพื่อการบำเพ็ญฮัจญ์อันยิ่งใหญ่ ต่างเฝ้ารอคอยวันแห่งการวุกุฟ ซึ่งเป็นวันที่เต็มไปด้วยการอภัยโทษ,ความยินดีและความภาคภูมิใจจากพระองค์อีกทั้งยังเป็นวันแห่งการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรก.

حجـا مبرورا وسـعـيـا مشــكورا ودنـبـا مـغـفـورا وعـمـلا صـا لحـا مقـبـولا

อามาลต่างๆในวันตัรวียะห์

1.ก่อนทำการเหนียตเอียะรอมฮัจญ์ซุนัตให้ผู้ทำฮัจญ์ตะมัตตัวะอาบซุนัตเอียะรอม,ตัดเล็บ,เล็มหนวด,ทาน้ำหอม,สวมใส่ชุดเอียะรอมจากผ้าสองชิ้นสำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงให้นางเลือกใส่ชุดใดก็ได้ที่ปกปิดเอารัตทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้ากับฝ่ามือ (ห้ามปิดหน้า) ส่วนบุคคลใดทำฮัจญ์แบบกีรอนและอิฟรอดก็ให้ดำรงตนครองเอียะรอมอย่างเดิม

2.ซุนัตให้เหนียตทำฮัจญ์ก่อนตะวันคล้อย

3.ให้ตั่งใจเหนียตครองเอียะรอมฮัจญ์โดยกล่าวว่า “ลับบัยกา ฮัจญัน”  แล้วนึกในใจว่า “ข้าพเจ้าทำฮัจญ์และครองเอียะรอมฮัจญ์เพื่ออัลเลาะห์ตาอาลา”

4.ออกเดินทางสู่มีนาพร้อมค้างคืนในวันดังกล่าว (ค่ำคืนวันที่เก้า)

5.ทำอามาลอีบาดะห์ ที่ท้องทุ่งมีนาด้วยการละหมาดญามาอะห์ร่วมกัน,กล่าวคำตัลบียะห์ “ลับบัยกัลลอฮุมมาลับบัยก์ ลับบัยกาลาชีรีกาลากาลับบัยก์ อินนันฮัมดา วันเนียะมาตา ลากาวัลมุล ลาชารีกาลากาลับบัยก์”

6.ดำรงละหมาดญามาอะห์พร้อมละหมาดซุนัตต่างๆ เช่น ละหมาดวิติร,ละหมาดเตาบัต,ละหมาดตะฮัจยุจและอีบาดะห์อื่นๆ

บทดุอาต่างๆ

1.ขณะมุ่งหน้าสู่มีนาซุนัตอ่านดุอา “อัลฮุมมา อียากาอัรญุ วาลากาอัดอุ ฟาบาลัฆนี ซอลีฮุน อามาลี วัฆฟีรลี อินนากาอาลากุลลีชัยอินกอดีร

2.กล่าวคำดุอาและบทตัลบียะห์มากๆ

ท้องทุ่งมีนาในคราที่เต็มไปด้วยฮุจยาจ

 

Haj 2012 : 7.ซียาเราะห์รอบเมืองมักกะห์

มักกะตุลมูกัรรอมะห์

7.ซียาเราะห์รอบเมืองมักกะห์

ถ้าคิดห้วงช่วงเวลาของการทำงานในมักกะห์ที่แบ่งไว้ก่อนหน้านี้ ห้วงช่วงนี้เรากำลังอยู่ในห้วงช่วงที่สอง มันค่อนข้างสบายและผ่อนคลายนิดหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงแรกและช่วงสุดท้ายที่จะพานพบในไม่อีกกี่วันข้างหน้า ที่บอกว่าสบายและผ่อนคลายก็เพราะว่าอุจยาจทุกคนเหมือนกับกำลังอยู่ในช่วงฟรีสไตล์ กล่าวคือนอกจากงานหลักประจำวันที่ต้องทำอามัลอีบาดะห์ที่มัสยิดฮารอมแล้ว พวกเขายังมีเวลามากมายเพื่อการจับจ่ายซื้อของสำหรับเป็นของฝากแก่ญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ทางบ้านอีกด้วย

ผมเองก็เหลืองานอย่างเดียวที่ต้องจัดการให้เรียบร้อย นั้นก็คือการมูซากาเราะห์ การเรียนการสอนเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับฮัจย์ ก่อนหน้านี้เราจะทำกันวันเว้นวัน แต่หลังจากเข้ามาอยู่ในช่วงที่สองและยังเหลือเวลาแค่หนึ่งสัปดาห์สำหรับเข้าสู่ช่วงสุดท้าย (ช่วงทำฮัจย์) ผมเลยจัดเต็มเอากันแบบวันต่อวันหลังละหมาดอีชาเลยละครับ.

ในเมื่อฮัจย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ การมูซากาเราะห์ของเราจึงแบ่งการเรียนรู้เรื่องฮัจย์ให้เป็นไปตามเวลาและสถานที่ โดยชี้แจงให้เข้าใจว่า วันเวลานี้ ณ สถานที่แห่งนี้มีงานและกิจกรรมใดที่ต้องทำบ้าง เกี่ยวกับสถานที่นั้น ก็มีเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับมีกอตฮัจญ์,มัสยิดิลฮารอม,มีนา,มุซดาลีฟะห์และอารอฟะห์ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับเวลา ก็เป็นเรื่องของวันต่างๆในการประกอบพิธีฮัจญ์ โดยเริ่มตั่งแต่วันตัรวียะห์ (8 ซุลฮิจยะห์) วันวุกุฟที่อารอฟะห์ (9 ซุลฮิจยะห์)  วันนาฮัร (10 ซุลฮิจยะห์) และวันตัชรีกทั้งสาม (11-13 ซุลฮิจยะห์) ซึ่งทั้งหมดมีกิจกรรมและงานต่างๆที่จะต้องทำตามเวลาและสถานที่ที่ศาสนากำหนดทั้งสิ้น. นอกจากนั้นยังเสริมเติมเรื่องอื่นๆที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสารัตถะแห่งฮัจย์,คอนเซ็ปฮัจญ์,ปรัชญาและวิทยปัญญาแห่งฮัจญ์,ความประเสริฐของฮัจญ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮัจญ์มับรูร เป็นต้น.สำหรับผม..การจะเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็ขึ้นกับเรียนรู้หรือการมูซากาเราะห์ที่ดีนั้นเอง.

มัจลิซมูซากาเราะห์ที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา

แรกเริ่มเดิมทีว่าจะเขียนเรื่องกิจกรรมของพวกเราในช่วงแรก แต่เกริ่นเรื่องกิจกรรมของช่วงที่สองก่อนอย่าง

เพลิดเพลิน กิจกรรมต่างๆของช่วงแรกจึงขอเริ่มด้วยย่อหน้าใหม่ต่อไปนี้.

ห้วงช่วงแรก คือสิบวันแรกภายหลังเดินทางมาจากมาดีนะห์ อย่างที่บอก ผมไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากนำ

ฮุจยาจไปทำอุมเราะห์ทุกวันหลังละหมาดอีชา ส่วนเวลากลางวันผมจะพาฮุจยาจไปซียาเราะห์ โดยรายการ

แรกที่จัดให้คือซียาเราะห์รอบเมืองมักกะห์และมีสถานที่สำคัญต่างๆดังนี้

1.ญะบัลซูร หรือภูเขาซูร หนึ่งในภูผาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อิสลาม ตั้งห่างจากมักกะห์ราว 6 ก.ม ด้านบนสุดของภูเขามี “ถ้ำซูร” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่หลบซ่อนหนีภัยของท่านรอซูลกับซอฮาบะห์คู่ใจ ท่านอาบูบักร์ อัซซิดดิก ในคราที่กาเฟรกุเรชไล่ล่าอาฆาตท่านทั้งสอง ท่านรอซูลกับอาบูบักร์อยู่ที่นั้นสามวัน ก่อนจะออกเดินทางฮิจเราะห์ต่อไปยังเมืองมาดีนะห์โดยสวัสดิภาพ เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอับดุลเลาะห์และอัซมะฮฺบุตรของอบูบักร์ร่วมด้วยช่วยกันด้านนอกถ้ำ อีกทั้งยังมีความช่วยเหลือจากพระองค์อัลเลาะห์ในรูปของมั่วะยีซาตรอซูล กล่าวคือ มีแมลงมุมและนกพิราบมาสร้างรังปกปิดปากถ้ำเป็นเกราะกำบังไม่ให้ชาวกาเฟรกุเรชมองเห็นภายใน ทำให้ท่านนาบีและอบูบักร์รอดปลอดภัยในที่สุด.

ทิวเขาซูรเมื่อยามเช้าหนึ่งที่เราไปซียาเราะห์

2.มาชาอิริลฮารอม คือ สถานที่ต่างๆในการประกอบกิจกรรมฮัจญ์ กล่าวคือ :

ท้องทุ่งมีนา เป็นสถานที่ค้างคืนและขว้างเสาหิน ในวันที่ 10 -13 ซุลฮิจญะห์

ท้องทุ่งอารอฟะห์ สถานที่วุกูฟ ในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ เป็นท้องทุ่งโล่งกว้างกว่า 10 ตารางกิโลเมตร ที่ฮุจยาจทุกคนจะต้องไปวุกูฟที่นั้น นับเป็นกิจกรรมหลักอันสำคัญที่พลาดและขาดตกบกพร่องไม่ได้ หาไม่แล้วการทำฮัจญ์ก็เป็นโมฆะ กลางๆท้องทุ่งอารอฟะห์มีญาบัลเราะห์มะห์ ว่ากันว่าเป็นสถานที่นาบีอาดัมและนางฮาวามาบรรจบพบกันอีกครั้งภายหลังถูกขับออกสู่โลกดุนยาและต้องพรากจากกันเป็นเวลามากกว่าสี่สิบปี ด้วยโทษทันฑ์จากพระองค์อัลเลาะห์ที่ทั้งสองได้ฝ่าฝืนข้อห้ามหนึ่งขณะพำนักพักพิงในสวนสวรรค์ ใกล้ๆญะบัลเราะห์มะห์มี “ซัคเราะห์” โขดหินใหญ่ซึ่งครั้งหนึ่งท่านรอซูลเคยนั้งวูกุฟในคราทำฮัจญ์วิดาฮฺของท่านเมื่อพันกว่าปีมาแล้ว.

กับญามาอะห์ฮุจยาจที่ทุ่งอารอฟะห์โดยมีญะบัลเราะห์มะห์เป็นฉากหลัง

มุซดาลีฟะห์ คือ ท้องทุ่งโล่งที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร ตั่งอยู่ระหว่างสองภูเขา ห่างจากมักกะห์ราว 15 กิโลเมตร เป็นสถานที่ค้างคืนภายหลังมาจากท้องทุ่งอารอฟะห์และเก็บก้อนหินเพื่อขว้างเสาหินเสาสุดท้ายในวันรุ่งขึ้น (วันอีด)

เราเลือกทำรายการซียาเราะห์มาชาอิริลฮารอม ก่อนวันฮัจญ์จะมาถึงทั้งนี้เนื่องจากว่า ต้องการให้ฮุจยาจได้เห็นสภาพโดยทั่วไปของมีนา,อารอฟะห์และมุสดาลีฟะห์ อย่างชัดเจนในวันโล่งๆว่างเปล่าจากผู้คนที่มาทำฮัจญ์ จะได้รู้และเห็น มีนา,อารอฟะห์และมุสดาลีฟะห์มีสภาพเป็นอย่างไร? บรรยากาศอย่างนี้จะหาดูไม่ได้ หากวันฮัจญ์ได้มาถึง ทั้งนี้เนื่องจากในวันดังกล่าวท้องทุ่งมีนา,อารอฟะห์และมุสดาลีฟะห์ จะเต็มไปด้วยผู้คนเป็นล้านๆคน การจะขับเคลื่อนไปดูสิ่งต่างๆในมาชาอิริลฮารอมจึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเท่าใดนัก.

ท้องทุ่งมีนาในยามเวิ้งว้างจากผู้คนกับอาคารขว้างเสาหินทั้งสาม

3.มัสยิดญะรอนะห์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ชานเมืองมักกะห์ ห่างออกไปทางด้านเมืองตออีฟราว 26 กิโลเมตร ในอดีตเป็นสถานที่ที่ท่านรอซูลแวะแบ่งปันทรัพย์เชลยศึกที่ได้จากการทำสงครามกับพวกฮาวาซิน ท่านเคยแบ่งปันแก่กองทหารของท่านที่นี่ ญะรอนะห์เป็นมีกอตหนึ่งที่ท่านรอซูลเคยเหนียตครองเอียะรอมอุมเราะห์ การหาโอกาสไปญารอนะห์นอกจากได้ซียาเราะห์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในอดีตแล้ว เรายังสามารถเหนียตครองเอียะรอมเพื่อทำอุมเราะห์เฉกเช่นที่ท่านนาบีได้เคยทำมา.

4.ญะบัลนูร หรือภูเขาฮิรอฮฺ เขาก็เรียก เป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของมักกะห์ราวสิบกว่ากิโลเมตร ด้านบนสุดของภูเขามีถ้ำฮิรอฮฺ เป็นที่ปลีกตนของนาบีออกห่างจากความวุ่นวายของสังคมญาฮีลียะห์ นาบีจะไปที่ถ้ำแห่งนี้เป็นประจำ จนกระทั้งครั้งหนึ่งเมื่อท่านอายุได้สี่สิบปี เหตุการณ์แต่งตั้งนาบีเป็นศาสนทูตอัลเลาะห์ ก็เกิดขึ้นในถ้ำแห่งนี้ ด้วยการประทานโองการแรกของอัลกุรอานจากพระองค์อัลเลาะห์ผ่านญิบรีล.

“ญะบัลนูร” ทางนำจากภูผานี่้ที่แผ่รัศมีอันรุ่งโรจน์

อัลฮัมดุลิลละห์…เราเริ่มรายการซียาเราะห์นี้ตั่งแต่เช้าด้วยรถบัสปรับอากาศคันใหญ่ ถึงตอนนี้…สายๆใกล้ละหมาดซุหร์แล้ว ทุกอย่างก็เสร็จสิ้น เห็นฮุจยาจหน้าตาสดชื่นดี แซะห์หนุ่มๆอย่างนี้ก็แฮปปี่เท่านั้นละครับ

 

Haj 2012 : 6. มักกะตุลมูกัรรอมะห์

Haj 2012 : 6. มักกะตุลมูกัรรอมะห์

“อุมเราะห์หนึ่งสู่อุมเราะห์หนึ่งเป็นกาฟาเราะห์ ฮัจย์มับรูรไม่มีผลานิสงค์ใดนอกจากสวรรค์”
มัฟฮูมฮาดีษ

คาราวานของเรามาถึงมักกะห์ท้ายเดือนกันยายน (29 กันยายน) ในสภาพครองเอียะรอมอุมเราะห์ครั้งแรกจากเมืองมาดีนะห์ มาถึงตอนค่ำจนถึงหลังเที่ยงคืนเราก็จัดการทำอุมเราะห์ด้วยการตอวาฟ,ซะแอและตะฮัลลุลอย่างเรียบร้อยภายในคืนนั้น อัลฮัมดุลิลละห์…

พรุ่งนี้เช้าผมจัดแจงบางอย่างที่ยังไม่เรียบร้อยเกี่ยวกับเรื่องบ้านพัก ส่วนฮุจยาจปล่อยให้พวกเขาพักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บเรี่ยวเก็บแรงภายหลังเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางและการอดนอนทั้งคืนเนื่องจากการทำอุมเราะห์.

เสร็จเรื่องบ้านพัก ผมมานั่งจัดการตารางโปรแกรมต่างๆที่จะต้องจัดให้ฮุจยาจตลอดระยะเวลาที่ต้องอยู่ที่นี่ ในเบื่องต้นอย่างนี้ต้องจัดการให้ฮุจยาจได้ทำอุมเราะห์ให้มากที่สุด ด้วยว่าผู้คนที่มายังมักกะห์ไม่มากนัก การหาโอกาสทำอุมเราะห์ในช่วงนี้จึงเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะกับผู้คนที่จะมีเพิ่มขึ้นทุกวันได้เป็นอย่างดีนัก ในใจผมคิดว่าอยากจะทำทุกวันๆละครั้ง แต่ก็ต้องดูความพร้อมของฮุจยาจ หลังจากเสนอแนะและถามความตั้งใจดังกล่าว ฮุจยาจทุกคนกลับตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “สู้ตาย…!” เอาละครับ..ครานี้การทำอุมเราะห์ของพวกเราก็ตกลงกันว่าจะทำกันทุกวันหลังละหมาดอีชา เมื่อครบหนึ่งสัปดาห์ อัลฮัมดุลิลละห์ภารกิจอุมเราะห์ที่ตั้งใจและวาดหวังไว้ก็เสร็จสิ้น.

” โอ้อัลเลาะห์…ตอบรับทุกอามาลอีบาดะห์ของมวลบ่าวพระองค์ด้วยเทอญ “

อย่างไรก็ตามทุกคืนหลังจากทำอุมเราะห์แล้ว ( ตี 01-02 : 00 น.) เราจะไม่เรียบกลับบ้านพัก แต่จะนั้งคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำอุมเราะห์ด้วยการไปนั่งพักผ่อนที่ลานตอวาฟ กินน้ำซำซำบ้าง มองไปทางกะบะห์และผู้คนที่กำลังตอวาฟบ้าง เมื่อได้เวลาพอสมควรผมจะชวนฮุจยาจทุกคนเข้าไปละหมาดซุนัตและดุอาใต้รางทองภายในบริเวณหินโค้งอิสมาแอล บริเวณหนึ่งที่ท่านรอซูล ซ.ล บอกกล่าวแก่นางอาอีฉ๊ะ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้านในกะบะห์ ดังนั้นหากใครได้มีโอกาสเข้าไปละหมาดและดุอาในบริเวณนี้ก็เท่ากับได้เข้าไปละหมาดและดุอาในกะบะห์นั้นเอง

ตลอดระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่เราทำอุมเราะห์ อัลฮัมดุลิลละห์ เราได้มีโอกาสเข้าไปละหมาดและดุอาใต้รางทองภายในหินโค้งอิสมาแอลถึงสามครั้งสามคราด้วยกัน ภายหลังจากนั้นผู้คนก็เริ่มแน่นมากขึ้นจนไม่สะดวกและปลอดภัยที่จะนำฮุจยาจเข้าไปอย่างที่เคยได้ทำก่อนหน้านี้

น้ำตาแห่งความดีใจภายใต้รางทองในหินโค้งอิสมาแอล

” กะบะห์ อัลมูชัรรอฟะห์ ” หนึ่งในเครื่องหมายมหิทธานุภาพแห่งพระองค์อัลลอฮฺ

“มุลตาซัม” หนึ่งในหลายสถานที่ดุอามุสตาญาบ

เมื่อได้ทำอุมเราะห์ตามที่ได้วาดหวังไว้ ครานี้ผมจัดตารางโปรแกรมซียาเราะห์ต่างๆที่เห็นสมควร ซึ่งก็พอจะแบ่งออกเป็นสองประเภท กล่าวคือ ซียาเราะห์ภายนอกและซียาเราะห์ภายใน ซียาเราะห์ภายนอก คือการซียาเราะห์รอบๆเมืองมักกะห์และสถานที่อื่นๆเช่น ไปเมืองท่ายิดดะห์,ญะรอนะห์และฮูดัยบียะห์ เป็นการเดินทางที่ต้องใช้ยานพาหนะ จะเป็นรถตู้บ้างรถบัสบ้างตามแต่จำนวนของฮุจยาจที่ร่วมเดินทาง

ส่วนซียาเราะห์ภายใน คือการซียาเราะห์สถานที่ต่างๆรอบๆมัสยิดิลฮารอม เป็นการซียาเราะห์แบบเดินเท้าโดยเริ่มจากเนินเขาซอฟา – มัรวะห์ – เมาลีดิลนาบี – ญะบัลกุบิส – มัสยิดรอยะห์ – กุบุรมะอา และไปจบการซียาเราะห์ที่มัสยิดญิน ระหว่างทางก็อธิบายถึงความเป็นมาและความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ในอดีต เป็นการเรียนรู้จากสถานที่จริงว่างั่นเถอะ.

ที่มักกะห์นับแต่นี้ไปเราจะมีเวลาอยู่ที่นี่ประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ ผมแยกห้วงช่วงเวลาของการอยู่ที่นี้เป็นสามช่วงเวลาด้วยกัน สิบวันแรกสำหรับการทำอุมเราะห์และการซียาเราะห์สถานที่ต่างๆ สิบวันที่สองสำหรับการทำอามัลอีบาดะห์ที่มัสยิดิลฮารอมและการเจียดเวลาว่างเล็กๆน้อยๆเพื่อการจับจ่ายซื้อของฝาก และสิบวันสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาแห่งทำฮัจญ์ภาคสนามซึ่งเป็นภารกิจหลักในการเดินทางของคาราวานนี้ นอกจากกิจกรรมต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นเรายังได้แทรกโปรแกรมตัซกีเราะห์การเรียนการสอนเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับฮัจญ์และเรื่องราวอื่นๆที่เกี่ยวข้องสลับวันเว้นวันหลังละหมาดอีชาและเวลาอื่นๆที่เหมาะสม.

ถึงตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงสิบวันที่สอง นับเป็นห้วงช่วงเวลาเบาๆสบายๆนิดหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสิบวันแรกก่อนหน้านี้และช่วงสิบวันหลังจากนี้ อินชาอัลเลาะห์แม้นจะเป็นช่วงไหนๆผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดและจะหาโอกาสแบ่งปันเรื่องราวทั้งหมดต่อไป

ขอพระองค์ได้โปรดประทานความสะดวกในการทำงานแก่ข้าพระองค์ต่อไปด้วยเทอญ.

“اللهم اجعلنـا حجـا مبرورا وسعـيا مشـكورا ودنـبـا مغـفورا وعملا صالحـا مقـبولا وتجارة لن تبـورا “

 

 

Haj 2012 : 5. อำลามาดีนะห์มูเนาวาเราะห์

มาดีนะตุลนาบีย์
แผ่นดินนี้เราจะมาอีก

Haj 2012 : 5. อำลามาดีนะห์มูเนาวาเราะห์

นับเป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ ( 20 – 29 กันยายน 2555 ) ที่ผมและบรรดาฮุจยาจได้มีโอกาสอยู่ที่เมืองมาดีนะตุลมูเนาวาเราะห์ อย่างที่เกริ่นมาก่อนหน้านี้ ที่นี่เราไม่มีกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับฮัจย์ หากแต่เป็นการซียาเราะห์กุบุรท่านรอซูลุลเลาะห์และเมืองของท่านที่เป็นต้นแบบความเจริญแห่งอารยธรรมมวลมนุษยชาติโดยเฉพาะความเจริญทางจิตใจที่ไม่มีอารยธรรมใดเทียบเคียงได้ เป็นอารยธรรมแห่งวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงบันดาลและมอบให้บุรุษผู้ถูกคัดสรรนำมามอบเป็นของขวัญเพื่อความสำเร็จในโลกนี้และโลกหน้า.

ตลอดระยะเวลาสั้นๆกว่าหนึ่งสัปดาห์เราได้ใช้เวลาอย่างดีที่สุดเพื่อให้โปรแกรมต่างๆที่วางไว้ก่อกำเนิดเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยรวมผมขอพูดเพียงประโยคเดียวว่า “อัลฮัมดุลิลละห์ ทุกอย่างเป็นไปตามหมายกำหนดการณ์”.

โปรแกรมงานที่มาดีนะห์
อัลฮัมดุลิลละห์ทุกอย่างตามหมายกำหนดการณ์

ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติก่อนการเดินทางออกจากเมืองมาดีนะห์ พวกเราหาโอกาสเข้าไปอำลาท่านรอซูล ซ.ล ด้วยการเข้าเยี่ยมหรือซียาเราะห์กุบุรของท่านและซอฮาบะห์ทั้งสอง ตลอดระยะทางจากโรงแรมที่พักซึ่งห่างจากมัสยิดเพียงสามร้อยเมตร ผมกำชับบรรดาฮุจยาจให้เปียกปอนลิ้นของตนเองด้วยการแซ้สร้องสรรเสริญคำซอลาวาตและสลามต่อท่านรอซูลให้มากๆ เมื่อไปถึงบริเวณกุบุรพวกเราจึงกล่าวคำซอลาวาตและให้สลามท่านนาบีและซอฮาบะห์ทั้งสอง พร้อมขอดุอาต่อพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ ได้โปรดบันดาลให้พวกเราทุกคนเป็นบ่าวที่ดีมีอีหม่านของพระองค์อัลเลาะห์และเป็นอุมมัตของท่านรอซูลที่ได้รับชาฟาอัตจากท่านในโลกดุนยาและอาคีรัต และได้โปรดประทานการได้มีโอกาสมาที่แผ่นดินนาบีครั้งนี้อย่าได้เป็นครั้งสุดท้ายของพวกเราเลย เฉกเช่นเดียวกันความโปรดปรานดีๆอย่างนี้ขอได้โปรดพระองค์แบ่งปันให้แก่ญาติพี่น้อง,เพื่อนพ้อง,มุสลิมีนและมุสลิมาตโดยทั่วกันด้วยเทอญ อามีน.

8 : 00 น.เป็นเวลาเริ่มออกเดินทางจากที่พัก ก่อนเดินทางหนึ่งคืน ผมแทร๊กทีมกับบรรดาฮุจยาจด้วยการจับกลุ่มมูซากาเราะห์สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆที่จะต้องทำตลอดระยะเวลาการเดินทางครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องการครองเอียะรอมครั้งแรกจากเมืองมาดีนะห์ – มักกะห์ เราเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงประเภทต่างๆของการทำฮัจญ์ ฮัจญ์อิฟรอด,ฮัจญ์ตะมัตตัวะและฮัจญ์กีรอน,ข้อห้ามต่างๆขณะครองเอียะรอมและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เมื่อเข้าใจดีแล้วจึงให้ฮุจยาจเลือกปฏิบัติประเภทฮัจญ์ต่างๆที่ตนพอใจและถือว่าเหมาะกับความสามารถของตน.

อัลฮัมดุลิลละห์ ในกลุ่มคาราวานฮัจญ์ของพวกเราครั้งนี้ทุกคนตัดสินใจเลือกที่จะออกจากมาดีนะห์ไปมักกะห์ด้วยการครองเอียะรอมอุมเราะห์ซึ่งก็หมายถึงว่าพวกเราทำฮัจญ์แบบตะมัตตัวะ กล่าวคือ ทำอุมเราะห์ในเทศการฮัจญ์ภายหลังถึงวันที่แปดซุลฮิจญะห์จึงเหนียตครองเอียะรอมฮัจญ์ เราออกจากที่พักราวครึ่งชั่วโมงก็มาถึงมัสยิดซุลฮุลัยฟะห์ สถานที่หรือมีกอตครองเอียะรอมสำหรับชาวมาดีนะห์หรือใครก็ตามที่ทำฮัจญ์หรืออุมเราะห์โดยผ่านเมืองมาดีนะห์.

ที่มัสยิดมีกอตซุลฮูลัยฟะห์เราใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมงสำหรับการอาบน้ำละหมาด,ละหมาดซุนัตเอียะรอมและทำการเหนียตครองเอียะรอมอุมเราะห์ เมื่อเสร็จแล้วต่างก็ขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อไปยังมักกะห์ บนรถผมกล่าวนำบทตัลบียะห์และตัซกีเราะห์เสริมเกี่ยวกับการระมัดระวังข้อห้ามต่างๆขณะครองเอียะรอม

มัสยิดซุลฮุลัยฟะห์ มีกอตชาวมาดีนะห์
และผู้ที่เดินทางผ่านเมืองมาดีนะห์

การเดินทางจากมาดีนะห์มายังมักกะห์มีระยะทางราว 400 กว่ากิโลเมตร ผ่านเส้นทาง “ตอริกฮิจเราะห์” ตลอดระยะทางพาดผ่านท้องทุ่งทะเลทรายที่กว้างขวางสุดสายตา บางแห่งเป็นหมู่บ้านกลางทะเลทรายมีแมกไม้น้อยใหญ่บ้างเป็นย่อมๆ มีบ้างที่เป็นท้องทุ่งโล่งมีฝูงอูฐเปรียวเล็มหญ้าแห้งให้แลดูชมเป็นครั้งคราว ช่างเป็นบรรยากาศและประสบการณ์ใหม่ให้ชีวิตแก่บรรดาฮุจยาจที่รวมเดินทางได้เป็นอย่างดีนัก ก่อนหน้านี้มีฮุจยาจคนหนึ่งเคยเปรยให้ผมฟังว่า “แซะห์…ช่วยจัดทริปการเดินทางจากมาดีนะห์ – มักกะห์เป็นเวลากลางวันหน่อย อยากจะสัมผัสบรรยากาศการเดินทางกลางทะเลที่สามารถมองเห็นได้หมด” มาถึงตอนนี้ ผมได้แต่นึกในใจงว่า “อัลฮัมดุลิลละห์…ความปรารถนาของเขา พระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ ทรงประสงค์ให้แล้ว”

“ตอริกฮิจเราะห์” เส้นทางมาีดีนะห์ – มัักกะห์

400 กว่ากิโลเมตร เราใช้เวลาทั้งสิ้นกว่า 6 ชั่วโมง ท้ายสุดก็มาถึงเมืองมักกะห์โดยสวัสดิภาพ เพลานั้นใกล้ค่ำพอดี อย่างไรก็ตามบ้านที่เช่าไว้กลับมีปัญหาเล็กน้อยยังไม่พร้อมรองรับฮุจยาจ ผมทำได้แค่จัดแจงกระเป๋าและเก็บสำภาระต่างๆเข้าที่พัก ส่วนฮุจยาจยังนำเข้าไปม่ได้ จึงนำทั้งหมดไปละหมาดมักริบและอีชาที่มัสยิดข้างบ้าน เสร็จละหมาดแล้วจึงพากันออกไปยังลานใหญ่ข้างลานซะแอระหว่างเนินเขาซอฟาและมัรวะห์ด้านทิศตะวันออกของมัสยิดิลฮารอม จัดแจงอาหารมื้อค่ำ,เข้าห้องน้ำบริเวณนั้น เมื่อทุกอย่างเสร็จสรรพและได้เวลาอันควรจึงนำขบวนเข้าสู่มัสยิดดิลฮารอมผ่านประตูหมายเลขที่ 45 “บาบุลฟัตห์” ประตูสู่มัสยิดิลฮารอมที่ใกล้สุดกับบัยตุลเลาะห์.

แวบแรกที่เห็นกะบะห์เราไม่ได้ทำอะไรนอกจากอ่านดุอาเห็นบัยตุลเลาะห์ ความรู้สึกยามนั้นแบ่งปันให้ใครไม่ได้นอกจากต้องหาโอกาสมาสัมผัสเอง เป็นความรู้สึกอิ่มบุญที่สร้างความสบายและโล่งใจให้ชีวิตมากที่สุด ด้านหลังผมบรรดาฮุจยาจทุกคนดูอิ่มเอมเปรมปรีย์พร้อมคราบน้ำตาแห่งความสุขที่รินไหลมาโดยไม่ได้เชื้อเชิญ เชื่อว่าพวกเขาต่างก็มีความสุขและเป็นช่วงที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขาเป็นแน่.

หลังจากทุกคนพร้อมเราก็เริ่มกิจกรรมต่างๆของการทำอุมเราะห์ โดยเริ่มที่

22 : 30 น. เราเริ่มตอวาฟรูกนอุมเราะห์

23 : 00 น. ละหมาดซุนัตตอวาฟแล้วดื่มน้ำซัมซัม

00 : 00 น. เริ่มทำการซะแอที่เนินเขาซอฟา

00 : 45 น. ตะฮัลลุลอุมเราะห์ด้วยการตัดผมที่เนินเขามัรวะห์

อุมเราะห์ครั้งแรกจากมาดีนะห์มูเนาวาเราะห์

ถึงตอนนี้อัลฮัมดุลิลละห์เป็นการเสร็จสิ้นพิธีการอุมเราะห์ครั้งแรกจากเมืองมาดีนะห์ ก่อนกลับบ้านพักเราวกเข้ามาในลานตอวาฟอีกครั้งเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางและทำอุมเราะห์ แหงนมองไปที่นาฬิกายักษ์ยามนี้เป็นเวลากว่า 02.00 น.แล้ว พลางรอเวลาละหมาดซุบห์ เราได้แต่มองกะบะห์และผู้คนมากมายที่กำลังตอวาฟ ราตรีนี้จึงเป็นราตรีหนึ่งที่สวยงามยิ่งนัก.

อัลเลาะห์ อัลเลาะห์ อัลลอฮูอักบัร เบื้องหน้าคือความยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลเลาะห์ พระผู้ทรงมหิทธานุภาพที่ไม่มีเกิดขึ้นที่ไหนนอกจากที่นี่…อัลฮัมดุลิลละห์…ที่พวกเรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ขอจงขอบคุณชูโกรต่อพระองค์อัลลอฮ์ พระองค์ผู้ทรงสัญญา “หากท่านขอบคุณชูโกรต่อพระองค์แน่แท้พระองค์จะทรงเพิ่มพูนความดีงามแก่พวกท่าน”

กะบะห์ : เครื่องหมายมหิทธานุภาพแห่งพระผู้ทรงยิ่งใหญ่

หอนาฬิกามัสยิดิลฮารอม

 

Haj 2012 : 4.มัสยิดนาบาวีย์

ด้านหน้าสุดมัสยิดิลนาบาวีย์มีกุบุรนาบีเป็นฉากหลัง

เขียนมาหลายบทแล้วเกี่ยวกับมาดีนะห์ ครั้งนี้ถ้าไม่ได้เขียนหรือเล่าเรื่องเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับมัสยิดนาบาวีย์คงจะไม่ดูดีและเข้าท่าเท่าใดนัก มัสยิดนาบาวีย์ถือเป็นไฮไลท์และหัวใจอันสำคัญของเมืองมาดีนะห์เลยทีเดียว ทั้งนี้ด้วยการก่อกำเนิดเกิดขึ้นของมัสยิดแห่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรุ่งโรจน์ทั้งหลายทั้งปวงที่เรากำลังมองเห็นอยู่ขณะนี้,เป็นความรุ่งโรจน์ขั้นสูงสุดทางจิตใจและวัตถุที่เป็นจริงและยั่งยืนตลอดไป

แรกเริ่มเดิมทีการสร้างมัสยิดหลังนี้เป็นดำริโดยตรงของท่านนาบีที่ต้องการสร้างสรรค์สังคมอิสลามใหม่ในเมืองมาดีนะห์ ท่านได้วางรากฐานทั้งหมดด้วยการเริ่มต้นที่มัสยิดแห่งนี้ นับเป็นแหล่งรวมจิตใจ,ความคิดและมติแห่งการปฏิบัติที่ยืนอยู่บนรากฐานแห่งอีมานและอิสลามอย่างแท้จริง มีวะห์ยูจากพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ คอยดลจิตให้ท่านยึดเป็นทางนำในการดำเนินชีวิตตลอดมา ตั่งแต่วันนั้นจวบจนถึงวันนี้นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่มีมากว่าพันปีและจะยังคงมีตลอดไปจนถึงวันกียามัต.

มัสยิดนาบาวีย์นับเป็นมัสยิดหลังที่สองรองจากมัสยิดกุบาฮฺในเรื่องของลำดับการก่อสร้างมัสยิดต่างๆที่มีอยู่ในโลก ท่านนาบีได้ก่อร่างสร้างมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของท่านเองพร้อมกับบรรดาซอฮาบะห์ภายหลังจากท่านฮิจเราะห์จากเมืองมักกะห์สู่เมืองมาดีนะห์ โดยท่านได้แวะที่ชานเมืองมาดีนะห์ ณ หมู่บ้านกุบาฮฺพร้อมกับสร้างมัสยิดหลังแรกที่นั้น.

หลังจากพำนักที่หมู่บ้านกุบาฮฺได้ไม่กี่วันท่านก็เดินทางต่อโดยได้มาถึงที่ๆเป็นบริเวณมัสยิดนาบาวีย์ในปัจจุบัน เหตุการณ์ในครั้งนั้นในประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกว่า ชาวเมืองมาดีนะห์เมื่อรู้ถึงการฮิจเราะห์ของท่านรอซูลได้มาถึงยังพวกเขาต่างแส้ซ้องสรรเสริญและต้อนรับอย่างสมเกียรติพร้อมกับแย่งชิงลากอูฐของท่านไปยังบ้านของตน โดยหวังให้เป็นแขกพิเศษในช่วงก่อนที่ท่านจะมีบ้านเป็นหลักแหล่งที่นี้ เห็นเป็นเช่นนั้น ท่านนาบีจึงบอกชาวมาดีนะห์ว่า “ปล่อยอูฐของฉันให้มันเดินตามความต้องการหากมันหยุดตรงไหนที่นั้นคือที่สร้างบ้านของฉัน” เมื่ออูฐคู่ใจของท่านรอซูลเดินออกมาได้ระยะหนึ่งก็มาหยุดอยู่ที่หนึ่งที่เป็นบริเวณท้องทุ่งกว้าง แล้วท่านนาบีก็พูดว่า “นี่แหละที่สร้างบ้านของฉัน” ซึ่งเป็นจุดที่เป็นกุบุรของท่านในปัจจุบันนี้นั้นเอง.

ยัซริบ…ในคราฟ้าสางก่อนการเดินทางของนาบี.

ภายหลังท่านสร้างบ้านเสร็จ ท่านนาบีมีดำริให้สร้างมัสยิดข้างบ้านท่าน โดยยุคแรกของการก่อสร้างมัสยิดมีความกว้างเพียง 30×35 ตารางเมตร ต่อมาภายหลังก็ได้มีการขยับขยายอณาบริเวณของมัสยิดตามความจำเป็นของแต่ละยุคสมัยแห่งการปกครองของแต่ละคอลีฟะห์ จวบจนถึงปัจจุบันในยุคสมัยราชวงค์ซาอุดีย์มัสยิดนาบาวีย์ได้มีการพัฒนาและขยายบริเวณที่กว้างมากถึง 2,374,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้คนที่มาละหมาดญามาอะห์ได้มากถึงแสนๆคนปัจจุบันโครงการขยายมัสยิดยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ มีการประเมินว่าในอนาคตมัสยิดแห่งนี้จะขยับขยายจนสามารถรองรับผู้คนได้มากถึงล้านคน.

มัสยิดนาบาวีย์ในวันที่เต็มไปด้วยผู้คน

ส่วนภายในมัสยิดและบริเวณรอบนอกมีส่วนที่สำคัญต่างๆดังนี้

1.บริเวณที่เป็นบ้านของรอซูล ปัจจุบันเป็นกุบุรของท่านและซอฮาบะห์ทั้งสอง ท่านอบูบักร อัซซิดดิกและท่านอุมัร บินค๊อตต๊อบ ส่วนห้องต่างๆด้านทิศใต้เป็นห้องของบรรดาภริยาของท่านนาบี.

2.ระหว่างบ้านและมิมบัรเป็นบริเวณหนึ่งที่เรียกว่า “เราเดาะห์” หนึ่งในสวนต่างๆที่มีอยู่ในสวนสวรรค์ กล่าวคือ เป็นบริเวณที่ท่านนาบีพำนักพักพิงอาศัยเป็นเนืองนิจขณะท่านมีชีวิต โดยเป็นที่ชุมนุมในการละหมาดญามาอะห์,อบรมตักเตือน,วางแผนกิจการต่างๆพร้อมกับบรรดาซอฮาบะห์ นับเป็นบริเวณหนึ่งที่ควรค่าแก่การหาโอกาสไปละหมาดซุนัตและวิงวอนขอดุอาจากพระองค์อัลเลาะห์ ซ.บ

ในบริเวณที่เป็นเราเดาะห์ถูกปูด้วยพรมสีเขียวและมีเสาหินอ่อนสีขาวขอบทองเป็นการแยกออกอย่างชัดเจนกับบริเวณอื่นที่ไม่ใช่เราเดาะห์ซึ่งปูด้วยพรมสีแดงมีเสาเป็นปูนสีครีม.

ในเราเดาะห์มีมิมบัรนาบี(ธรรมมาส)ในอดีตสมัยท่านนาบียังมีชีวิตอยู่เป็นที่อ่านคุตบะห์ของท่าน ถัดมาด้านทิศตะวันออกของมิมบัรมีเมียะรอบนาบีกล่าวคือเป็นที่ที่ท่านนาบียืนละหมาดนำเป็นอีหม่ำแก่บรรดาซอฮาบะห์.

3.กุบุรนาบีและกุบุรซอฮาบะห์ทั้งสอง ท่านอบูบักร อัซซิดดิกและท่านอุมัร บิน ค๊อตต๊อบ เป็นบริเวณบ้านนาบีที่ตั่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเราเดาะห์ ปัจจุบันถูกล้อมรอบไปด้วยลูกกรงเหล็กสีเขียว ด้านในมีกุบุรท่านนาบี,กุบุรอบูบักร อัซซิดดิกและท่านอุมัร บินค๊อตต๊อบ ด้านหน้าของกุบุรมีทางเดินที่พาดผ่านมาจากทางเข้าประตูบาบุสลาม – ประตูทางด้านกุบุรบากิห์ เมื่อเดินผ่านกุบุรของนาบี,และซอฮาบะห์ทั้งสองแล้วให้เรากล่าวคำสลามและซอลาวัตแก่ท่าน

4.ญันนะตุลบากิห์ คือกุบุรหรือสุสานโบราณที่มีมาตั่งแต่สมัยนาบี เป็นสุสานที่ฝังศพเครือญาติที่ใกล้ชิดและบรรดาซอฮาบะห์อื่นๆมากกว่า 10,000 คน อีกทั่งยังเป็นที่ฝังศพของชาวมะดีนะห์ตลอดจนบรรดาฮุจยาจจากทั่วโลกที่เสียชีวิตที่นี่.

อัลลอฮ์ อัลลอฮ์ อัลลอฮูอักบัร นี่คือความยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลเลาะห์ และความจำเริญของท่านรอซูลที่หลั่งไหลไม่มีวันหมดสิ้น….ขอได้โปรดหลั่งไหลมายังข้าพระองค์,ครอบครัว,ญาติพี่น้อง,เพื่อนพ้องตลอดจนมุสลีมินมุสลิมาตทั่งหมดตลอดไปด้วยเทอญ.

ท่านรอซูล ซ.ล กล่าวว่า ” บริเวณที่อยู่ระหว่างบ้านและมิมบัรของฉันเป็นสวนหนึ่งที่มีอยู่ในอยู่สวนสวรรค์”

อัล-มูวาญาฮะห์ : เส้นทางเดินพ้นผ่านหน้ากุบุรนาบีและซอฮาบะห์ทั้งสอง

ญันนะตุลบากิห์ : กุบุรโบราณเมืองมาดีนะตุลมูเนาวาเราะห์